ความซื่อสัตย์(integriry)
ระดับความซื่อสัตย์
1. ระดับตำกว่ามาตรฐานที่กำหนดอย่างมาก
. ให้ข้อมูลที่บิดเบือนจากความจริงเป็นเหตุให้เกิดปัญหาหรือความเข้าใจผิด
. หลีกเลี่ยงการตักเตือนหรือแจ้งผู้ที่ทำผิดระเบียบ
. ปฏิเสธ/ไม่ยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
. ละเมิดระเบียบหรือกฎเกณฑ์อยู่เสมอ
2. ระดับตำกว่ามาตรฐาน
. ดูแลและรักษาทรัพย์สินหรือผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นบางครั้ง
. ตักเตือนหรือแจ้งผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎเท่าที่จำเป็น
. ไม่ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎของส่วนร่วมเป็นบางครั้ง
3. ระดับมาตรฐานที่กำหนด
. รับฟังและไม่นำข้อมูลของผู้อื่นมาเปิดเผย
. ดูและและรักษาทรัพย์สินและผลประโยชน์ของส่วนรวมอยู่เสมอ
. ไม่นำทรัพย์สินของส่วนรวมมาใช้ประโยชน์ส่วนตัว
. ประพฤติตนตามระเบียบหรือกฎอยู่เสมอ
4. สูงกว่ามาตรฐานที่กำหนด
. ไม่เปิดเผยข้อมูลของหน่วยงานที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือปัญหาให้เกิดขึ้น
. ให้ข้อมูลที่ถูกต้อง ชัดเจน และเหมาะสมกับกลุ่มคน เวลา และสถานการณ์
. ตักเตือนสมาชิกในทีมเมื่อทำผิดระเบียบหรือกฎ
. ยอมรับและหาทางแก้ไขความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเอง
5. สูงเกินกว่าที่มาตรฐานกำหนด
. แจ้งผู้เกี่ยวข้องเมื่อพบเห็นผู้ทำผิดระเบียบหรือกฎ
. ปลุกจิตสำนึกให้สมาชิกทั้งภายในและภายนอกหน่วยงานมีจรรยาบรรณและคุณธรรมในการทำงาน
. นำทรัพย์สินของตนเองมาใช้เพื่อใครทำงานประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดเป็นพฤติกรรมหรือความสามารถ(competency)อย่างหนึ่งที่มีประโยชน์และมีคุณค่าในความเป็นมนุษย์ของบุคคล ช่วยให้เกิดความไว้วางใจ น่าเชื่อถือ และเป็นปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเรียนรู้และดำเนินงานของบุคคลหรือองค์กร
.....การจัดการเรียนการสอนวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครูในภาคเรียนที่ 2/2554 มุ่งเน้นในการใช้ความซื่อสัตย์เป็นเครื่องมือสำคัญเพื่อกำกับกระบวนการเรียนรู้ของผู้เรียนทั้งในแบบรายบุคคลและแบบทีม โดยมีเกณฑ์เบื้องต้นเป็นแนวทางในการปฏิบัติ 5 ระดับ ดังนี้